วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ค่าแรงขั้นต่ำ

 ด้วยคณะกรรมการจ่าจ้างได้มีการประชุมศึกษาและพิจารณาข้อเท็จจริง
เกี่ยวกับอัตราค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับอยู่ ประกอบด้วยข้อเท็จจริงอื่นตามที่กฎหมาย
กำหนด เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2554และมีมติเห็นชอบให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
เพื่อบังคับใช้แก่นายจ้างและลูกจ้างทุกคน
       อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 79 (3) และมาตรา 88 แห่งพระราชบัญญัติ
คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน
(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551คณะกรรมการค่าจ้างจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อที่1ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่๕)
ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553
ข้อที่2กำหนดให้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละ 300 บาท
ในท้องที่ กรุงเทพมหานคร จังหวัดนครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี
ภูเก็ต สมุทรปราการ และ สมุทรสาคร
ข้อที่3กำหนดให้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละ 273 บาท
ในท้องที่ จังหวัดชลบุรี
ข้อที่4กำหนดให้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละ 269 บาท
ในท้องที่ จังหวัดฉะเชิงเทรา และสระบุรี
ข้อที่5กำหนดให้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละ 265 บาท
ในท้องที่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ข้อที่6กำหนดให้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละ 264 บาท
ในท้องที่ จังหวัดระยอง
ข้อที่7กำหนดให้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละ 259 บาท
ในท้องที่ จังหวัดพังงา
ข้อที่8กำหนดให้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละ 258 บาท
ในท้องที่ จังหวัดระนอง
ข้อที่9กำหนดให้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละ 257 บาท
ในท้องที่ จังหวัดกระบี่
ข้อที่10กำหนดให้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละ 255 บาท
ในท้องที่ จังหวัดนครราชศรีมา และปราจีนบุรี
ข้อที่11กำหนดให้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละ 254 บาท
ในท้องที่ จังหวัดลพบุรี
ข้อที่12กำหนดให้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละ 252 บาท
ในท้องที่ จังหวัดกาญจนบุรี
ข้อที่13กำหนดให้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละ 251 บาท
ในท้องที่ จังหวัดเชียงใหม่ และราชบุรี
ข้อที่14กำหนดให้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละ 250 บาท
ในท้องที่ จังหวัดจันทบุรี และเพชรบุรี
ข้อที่15กำหนดให้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละ 246 บาท
ในท้องที่ จังหวัดสงขลา และสิงห์บุรี
ข้อที่16กำหนดให้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละ 244 บาท
ในท้องที่ จังหวัดตรัง
ข้อที่17กำหนดให้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละ 243 บาท
ในท้องที่ จังหวัดนครศรีธรรมราช และอ่างทอง
ข้อที่18กำหนดให้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละ 241 บาท
ในท้องที่ จังหวัดชุมพร พัทลุง เลย สตูล และสระแก้ว
ข้อที่19กำหนดให้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละ 240 บาท
ในท้องที่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ยะลา สมุทรสงคราม
และสุราษฎร์ธานี
ข้อที่20กำหนดให้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละ 239 บาท
ในท้องที่ จังหวัดนราธิวาส อุดรธานี และอุบลราชธานี
ข้อที่21กำหนดให้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละ 237 บาท
ในท้องที่ จังหวัดนครนายก และปัตตานี
ข้อที่22กำหนดให้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละ 236 บาท
ในท้องที่ จังหวัดตราด บึงกาฬ ลำพูน และหนองคาย
ข้อที่23กำหนดให้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละ 234 บาท
ในท้องที่ จังหวัดกำแพงเพชร และอุทัยธานี
ข้อที่24กำหนดให้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละ 233 บาท
ในท้องที่ จังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยนาท
และสุพรรณบุรี
ข้อที่25กำหนดให้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละ 232 บาท
ในท้องที่ จังหวัดเชียงราย นครสวรรค์ บุรีรัมย์ เพชรบูรณ์
ยโสธร ร้อยเอ็ด และสกลนคร
ข้อที่26กำหนดให้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละ 230 บาท
ในท้องที่ จังหวัดชัยภูมิ มุกดาหาร ลำปาง สุโขทัย
และหนองบัวลำภู
ข้อที่27กำหนดให้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละ 229 บาท
ในท้องที่ จังหวัดนครพนม
ข้อที่28กำหนดให้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละ 227 บาท
ในท้องที่ จังหวัดพิจิตร พิษณุโลก แพร่ มหาสาราคาม
แม่ฮ่องสอน อำนาจเจริญ และ อุตรดิตถ์
ข้อที่29กำหนดให้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละ 226 บาท
ในท้องที่ จังหวัดตาก และสุรินทร์
ข้อที่30กำหนดให้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละ 224 บาท
ในท้องที่ จังหวัดน่าน
ข้อที่31กำหนดให้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละ 223 บาท
ในท้องที่ จังหวัดศรีษะเกษ
ข้อที่32กำหนดให้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละ 222 บาท
ในท้องที่ จังหวัดพะเยา
ข้อที่33เพื่อประโยชน์ตามข้อ 2 ถึงข้อ 32 คำว่า "วัน" หมายถึง เวลาทำงานปกติ
ของลูกจ้างซึ่งไม่เกินชั่วโมงทำงานดังต่อไปนี้  
แม้นายจ้างจะให้ลูกจ้างทำงานน้อยกว่าเวลาทำงานปกติเพียงใดก็ตาม
(1) เจ็ดชั่วโมง  สำหรับงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและ
ความปลอดภัยของลูกจ้างตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2541)
ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
(2) แปดชั่วโมง สำหรับงานอื่นที่ไม่ใช่งานตาม (1)
ข้อที่34ห้ามมิให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างเป็นเงินแก่ลูกจ้างน้อยกว่าค่าจ้างขั้นต่ำ
ข้อที่35ประกาศคณะกรรมการค่าจ้างฉบับนี้
มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2555เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 2 พฤศจิกายน 2554
สมเกียรติ  ฉายะศรีวงศ์
ปลัดกระทรวงแรงงาน
ประธานกรรมการค่าจ้าง

วันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ข้อตกลงสภาพการจ้างประจำปี 2554

                ข่าวประชาสัมพันธ์                                           
                                                                                                         วันที่ 25 พฤศจิกายน 2554
เรียน        สมาชิกสหภาพแรงงานฯทุกท่าน
เรื่อง        สรุปข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างประจำปีและการปรับลดค่าบำรุงสมาชิก
              สืบเนื่องจากสหภาพแรงงานฟอร์ด และ มาสด้า ประเทศไทยได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อนายจ้างบริษัทออโต้อัลลายแอนซ์ ประเทศไทย จำกัด
 เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 54 เวลา 09.09 น.นำโดยประธานสหภาพแรงงานฯ นายสมหวัง  ฉิ่งสำโรง โดยยื่นข้อเรียกร้องทั้งหมดจำนวน 9 ข้อ
 มีการเจรจากันถึง 6 ครั้ง และ ได้ข้อสรุปเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2554 มีรายละเอียดดังนี้
            1. บริษัทฯยินดีจ่ายเงินโบนัสประจำปี 2554 รวมทั้งสิ้นจำนวน 6 เดือน บวกเงินพิเศษอีก 15,000 บาท บวกเพิ่มพิเศษสำหรับความ
ร่วมมือที่ดีตลอดมาอีกคนละ  2,500 บาท โดยแบ่งจ่ายเป็นสองครั้ง
                          ครั้งที่ 1 ในสิ้นเดือน ธันวาคม 2554 จำนวน 2 เดือน บวกพิเศษ 15,000 บาท
                          ครั้งที่ 2 ในสิ้นเดือน มีนาคม 2555 ตามการประเมินผลการทำงานประจำปีอีก จำนวน 4 เดือน บวกพิเศษ 2,500 บาท
               1.1    บริษัทฯยินดีจ่ายเงินโบนัสประจำปี 2555 รวมทั้งสิ้นจำนวน 6 เดือน บวกเงินพิเศษอีก 15,000 บาท
บวกเงินพิเศษของความสำเร็จร่วมในแต่ละไตรมาส ไตรมาสละ 1,250 รวม จำนวน 5,000 บาทโดยแบ่งจ่ายเป็นสองครั้ง
ครั้งที่ 1 การันตี จ่ายในสิ้นเดือน ธันวาคม 2555 จำนวน 2 เดือน บวกพิเศษ 15,000 บาท
ครั้งที่ 2   จ่ายในสิ้นเดือน มีนาคม 2556 ตามการประเมินผลการทำงานประจำปีอีก จำนวน 4 เดือน บวกพิเศษของ
ความสำเร็จร่วมในแต่ละไตรมาส ไตรมาสละ 1,250 บาท รวมเป็น จำนวน 5,000 บาท
         2. บริษัทฯยินดีปรับเงินเดือนให้แก่พนักงานประจำที่มีสิทธิตามเกณฑ์ของบริษัท ในระดับ Achiever   (เดิม ME)
ไม่ตำกว่า 6% บวก 150 บาท โดยมีผลตั้งแต่ 1 เมษายน 2555 และบริษัทฯยินดีพิจารณานำเบี้ยเลี้ยงระยอง ไม่ต่ำกว่า 2,300 บาท
รวมเข้ากับเงินเดือนพื้นฐานสำหรับพนักงาน ตั้งแต่ระดับปฏิบัติการ จนถึง ระดับ GSR โดยให้มีผลบังคับใช้ วันที่ 1 เมษายน 2555
พร้อมกับยกเลิกเบี้ยเลี้ยงระยอง ขั้นต่ำ 2,300 บาท หรือ 12.5% ของเงินเดือนพื้นฐาน
                     2.1 บริษัทฯยินดีปรับเงินเดือนให้แก่พนักงานประจำที่มีสิทธิตามเกณฑ์ของบริษัท ในระดับ Achiever (เดิม ME)
ไม่ต่ำกว่า 6% บวก 200 บาท โดยมีผลตั้งแต่ 1 เมษายน 2556
         3.  บริษัทฯยินดีจ่ายเบี้ยค่าทำงานล่วงเวลา (OT Incentive ) จำนวน 100 บาท ต่อเดือน สำหรับพนักงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตตามเกณฑ์
ซึ่งได้ทำงานล่วงเวลาตามแผนการผลิตของบริษัทฯ
4. บริษัทฯยินดีจ่ายค่ากะกลางคืนเพิ่มจากเดิมอีก 5 บาททุกระดับ โดยให้มิผลตั้งแต่ 1 มกราคม 2555
   4.1 บริษัทฯยินดีจ่ายค่ากะกลางคืนเพิ่มจากปี 2555 อีก 5 บาททุกระดับ โดยให้มิผลตั้งแต่ 1 มกราคม 2556
5. บริษัทฯยินดีปรับค่าทักษะ (Skill Allowance) ของพนักงานประจำที่มีทักษะตามเกณฑ์ของบริษัท
                        ระดับ OP จากเดิมสูงสุด 300 บาท เป็น 350 บาท
                        ระดับ SO จากเดิมสูงสุด 500 บาท เป็น 650 บาท
                        ระดับ MO จากเดิมสูงสุด 600 บาท เป็น 900 บาท
6. บริษัทยินดีปรับเปลี่ยนวิธีการคิดคำนวณค่าทำงานล่วงเวลาจากเดิม คือ เงินเดือนพื้นฐาน หารด้วย 23 วัน หารด้วย 8.5 ชั่วโมงทำงาน เป็นเงินเดือนพื้นฐาน หารด้วย 22 วัน หารด้วย 8.5 ชั่วโมง โดยให้มีผลตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2554 เป็นต้นไป
             6.1  บริษัทยินดีปรับเปลี่ยนวิธีการคิดคำนวณค่าทำงานล่วงเวลาจากเดิม คือ เงินเดือนพื้นฐาน หารด้วย 22 วันหารด้วย 8.5 ชั่วโมงทำงานเป็น เงินเดือนพื้นฐานหารด้วย 21 วันหารด้วย 8.5 ชั่วโมง โดยให้มีผลตั้งแต่ 1 มกราคม 2556 เป็นต้นไป
7. บริษัทฯยินดีปรับปรุงสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลกลุ่มดังนี้
               ค่าห้องพักผู้ป่วยใน (IPD)สำหรับพนักงานประจำ จากเดิม 700 บาท เป็น 1,400 บาท
               ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก(OPD) สำหรับพนักงานประจำ จากเดิมครั้งละ 1,000 บาท เป็นครั้งละ 1,200 บาท 31 ครั้งต่อปี
               ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอกสำหรับ คู่สมรสและบุตรตามกฎหมาย จากเดิมครั้งละ 900 บาท เป็นครั้งละ 1,000 บาท 31 ครั้งต่อปี
               ค่ารักษาพยาบาลสำหรับ บิดามารดา ของพนักงาน จากเดิมปีละ 2,500 บาท เป็นปีละ 3,000 บาท
8.  บริษัทฯยินดีพิจารณาคัดเลือกพนักงานเหมาค่าแรงที่มีอายุงาน 18 เดือนขึ้นไปเพื่อบรรจุเป็นพนัก
งานประจำของบริษัทฯภายในปี พ.ศ.2555 เป็นจำนวนทั้งสิ้น 400 คน ตามกฎเกณฑ์และระเบียบของบริษัทฯสำหรับในปี พ.ศ.2556 บริษัทฯจะพิจารณาตามสภาวะเศรษฐกิจและสถานะทางธุรกิจของบริษัทฯ
                            ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 จนถึง วันที่ 31 ธันวาคม 2556

ประชาสัมพันธ์เพิ่มเติม
                            เรื่องการปรับลดค่าบำรุงสมาชิกจากเดิม 12% ต่อปี “พี่น้องครับ”ผลจากมติที่ประชุมใหญ่เมื่อวันอาทิตย์ ที่ 31 กรกฎาคม 2554 ที่ให้คณะกรรมการปรับลดค่าบำรุง ตอนนี้คณะกรรมการได้นำข้อบังคับเกี่ยวกับค่าบำรุงส่งจดทะเบียนที่แรงงานจังหวัดระยองเรียบร้อยแล้วโดยมีรายละเอียดดังนี้ จากเดิม ค่าบำรุงสมาชิก 1% ต่อเดือน 12% ต่อปี ของเงินเดือนพื้นฐาน ปรับลดเป็น  0.84% ต่อเดือน 10% ต่อปี และมีเพดานไม่เกิน 2,500 บาทต่อปี 
                            “พี่น้องทุกท่านครับ” คณะกรรมการสหภาพแรงงานฯหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการดำเนินงานตามนโยบายสร้างแรงงานสัมพันธ์ที่ดีตลอดมานั้นจะเกิดผลดีต่อพี่น้องพนักงานทุกๆท่านในบริษัทออโต้อัลลายแอนซ์แห่งนี้ตลอดไป

                              

ขอแสดงความนับถือ

..........................................
( นายสมพงษ์   มะธุผา )
        ฝ่าย ประชาสัมพันธ์

วันพุธที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ข้อเรียกร้องประจำปี 2554

                                          
ข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงาน ฟอร์ดและมาสด้า ประเทศไทย  ที่ยื่นต่อนายจ้างบริษัท
อโต้อัลลายแอนซ์ ( ประเทศไทย ) จำกัด   ประจำปีพ.ศ. 2554

1.ขอให้บริษัทฯ  จ่ายโบนัสประจำปี 2554 จำนวน 6 เดือน พร้อมเงินบวกพิเศษ 35,000 บาท
    โดยให้จ่ายในสิ้นเดือน ธันวาคม  ปี2554
2.ขอให้บริษัทฯ  ปรับเงินขึ้นประจำปี 2555 ขั้นต่ำ  6.5%  ของฐานเงินเดือนทุกระดับ และ
    เงินบวกพิเศษเข้าฐานเงินเดือนทุก ระดับ  400 บาท
3.ขอให้บริษัทฯ  จ่ายเบี้ยเลี้ยงระยองจากเดิม 2,300 บาทต่อเดือน ปรับเป็นแบบเปอร์เซ็นคือ ( 12.5 % )
     ของการขึ้น    เงินเดือนในแต่ละปี
4. ขอให้บริษัทฯ ปรับเบี้ยขยันจากเดิม 600 บาท มาเป็นแบบขั้นบันได
     คือ 700 บาท 800 บาท 900 บาท
5. อให้บริษัทฯปรับค่ากะกลางคืนเพิ่มจากเดิมขึ้นอีก  10 บาท ทุกระดับ
6. ขอให้บริษัทฯ ปรับค่า  Skill Allowance ของพนักงานประจำให้เข้าฐานเงินเดือนเหมือนกับ  Leader
     6.1 ขอให้บริษัทฯ ปรับฐาน Skill  ของพนักงานที่มี  ( ค่า Skill 300 บาท  ) 
           ให้เป็น  500 บาท ( สำหรับพนักงานที่  มีอายุงาน 10 ปีขึ้นไป   )
7. ขอให้บริษัทเปลี่ยนแปลงการคำนวณค่าทำงานวันหยุดจากเดิมคือ 
    ***เงินเดือนหาร23หาร 8.5คูณ 1.5คูณชั่วโมงการทำงาน เปลี่ยนเป็นการคำนวณค่าทำงานวันหยุดดังนี้
    ***เงินเดือน  หาร  20 หาร8.5  คูณ 2.0  คูณชั่วโมงการทำงาน
    7.1  ขอให้บริษัทเปลี่ยนแปลง การคำนวณค่าจ้างล่วงเวลา  จากเดิม คือ
     ***เงินเดือนหาร 23หาร8.5คูณ .5คูณชั่วโมงการทำงานเปลี่ยนเป็นการคำนวณค่าจ้างล่วงเวลาดังนี้ 
     ***เงินเดือน  หาร  20 หาร8.5คูณ 1.5คูณชั่วโมงการทำงาน
8. ขอให้บริษัทฯจ่ายค่ารักษาพยาบาล ดังต่อไปนี้
      8.1 จ่ายค่าห้องผู้ป่วยใน 100 % (ในกรณีนอนในโรงพยาบาล)
      8.2 จ่ายค่ารักษาพยาบาลครอบครัวพนักงาน บิดา มารดา จากเดิม  2,500 เป็น 5,000 บาท
9. ขอให้บริษัทฯบรรจุพนักงานเหมาค่าแรงที่มีอายุงานตั้งแต่ 1ปี ขึ้นไป เป็นพนักงานประจำบริษัทฯ ปี 2555
     โดยใช้กฎระเบียบบริษัทจำนวน 800 อัตรา
      สภาพการจ้างอื่นใดที่ดีอยู่แล้วให้คงไว้ นอกจากขัดหรือแย้งกับสภาพการจ้างใหม่นี้ ให้ใช้ข้อตกลงนี้แทน

วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2554

สหภาพแรงงานฟอร์ด และ มาสด้า ประเทศไทย

   
              ในวันที่ 2 กันยายน 2554  เลขาธิการสหภาพแรงงาน มาสด้า ประเทศญี่ปุ่น พร้อมด้วยคณะผู้บริหารบริษัท มาสด้า ประเทศญี่ปุ่น เข้าเยี่ยมชมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและมีการพูดคุยอย่างเป็นกันเองกับคณะกรรมการสหภาพแรงงาน ฟอร์ด และ มาสด้า ประเทศไทย ทั้งสองสหภาพแรงงานฯได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นนานร่วม 3 ชั่วโมง  โดยสาระสำคัญคือการกล่าวถึงแนวทางการบริหารสหภาพแรงงานฯ ว่าบริหารอย่างไรเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่พี่น้องสมาชิก เช่น การจัดสวัสดิการแก่สมาชิก การรักษาผลประโยชน์ของพนักงาน การเจรจาข้อเรียกร้อง และ การสร้างแรงงาน
สัมพันธ์ที่ดีระหว่างนายจ้างลูกจ้าง และ ระหว่างลูกจ้างด้วยกันเอง โดยมีวาทะที่สำคัญคือ
"เมื่อไรที่คุณชักดาบเข้าหากันเมื่อนั้นต้องมีการบาดเจ็บ" (คำกล่าวนี้น่าจะเป็นบทเรียนที่ดีได้สำหรับสหภาพแรงงานฟอร์ด และ มาสด้า ของเรา)
                                        สมพงษ์ ม.